ขึ้นไปบนสุด

รายละเอียดหลักสูตร

ข้อมูลผู้สมัคร

ยืนยันลงทะเบียน

พิมพ์ใบสมัคร

หลักสูตรวุฒิบัตร

หลักสูตรวุฒิบัตร
การเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้

              เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ปะทุขึ้นอย่างรุนแรงและส่งผล กระทบต่อเนื่องมาจนย่างเข้าปีที่ 10 ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งต่อร่างกายและจิตใจของผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหรือประชาชน พุทธหรือมุสลิม โดยจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และ 4 อาเภอในจังหวัดสงขลา ตั้งแต่เดือนมกราคม 2547 จนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม 2557 ได้มีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้นกว่า 14,456 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,207 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 11,248 ราย (ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้)


              ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล สมาชิกรัฐสภา นักการเมืองท้องถิ่น ข้าราชการทหาร ตารวจ และพลเรือน ผู้นาศาสนา นักวิชาการ ผู้นาองค์กรพัฒนาเอกชน นักสิทธิมนุษยชน กลุ่มสตรีและเยาวชน นักธุรกิจ ตลอดจนสื่อมวลชนทั้งจากส่วนกลางและในพื้นที่ ต่างพยายามหาแนวทางแก้ไขและทาหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อยุติความรุนแรง และเสริมสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นนี้ มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานหลายศตวรรษ มีความสลับซับซ้อน และมีผู้เกี่ยวข้องที่หลากหลาย ส่งผลให้มุมมองต่อสภาพปัญหา สาเหตุรากเหง้าของปัญหา และแนวทางการแก้ไขของแต่ละภาคส่วนอาจมีความแตกต่างกันไปตามประสบการณ์ ความเชื่อ และทัศนคติของตน ด้วยเหตุนี้ การแก้ไขปัญหาความไม่สงบภายใต้บริบทเช่นนี้ จะอาศัยเพียงภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งในการปฏิบัติการคงจะประสบความสาเร็จได้ ยาก


             แนวทางสาคัญหนึ่งที่จะทาให้สังคมเกิดความสันติสุขขึ้นได้จึงต้องเป็นการเปิด พื้นที่พูดคุย (dialogue) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ผ่านกระบวนการที่ครอบคลุม (inclusive) กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียจากทุกภาคส่วน เพราะแม้คนในสังคมจะมีความแตกต่างหลากหลาย แต่หากได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ และประสบการณ์ร่วมกัน ก็จะทาให้เกิดความรู้ ความเข้าใจร่วมกันในประเด็นปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของความขัดแย้งและความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยท้ายที่สุด แนวทางดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีความหลาก หลาย เกิดเป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ มีความเท่าเทียมและความเข้าใจอันดีระหว่างกัน เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นด้านใดๆของกันและ กัน


           ด้วยเหตุนี้ สถาบันพระปกเกล้า โดยสานักสันติวิธีและธรรมาภิบาล จึงได้จัดหลักสูตรระดับวุฒิบัตร “การเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อ ขยายพื้นที่สันติภาพโดยการเปิดเวทีแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้า ร่วมซึ่งมาจากทุกภาคส่วนของสังคมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันอย่างอิสระ ตลอดจนร่วมกันแสวงหาทางออกซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย อันจะนาไปสู่การทางานในลักษณะเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างกระบวนการสันติภาพ (peace process) ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ครอบคลุมทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป