*ปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ สถาบันพระปกเกล้าตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้ท่านได้รับความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้บริการเว็บไซต์รับสมัครออนไลน์ของสถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกเก็บรักษาและป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคล ของท่านไปใช้โดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตอย่างเข้มงวด
*ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สถาบันพระปกเกล้าจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของสถาบันพระปกเกล้าเท่านั้น
รายละเอียดหลักสูตร
ข้อมูลผู้สมัคร
ยืนยันลงทะเบียน
พิมพ์ใบสมัคร
หลักสูตรประกาศนียบัตร ไทยกับประชาคมอาเซียนในเศรษฐกิจการเมืองโลก(Intermediate Certificate Course Thailand and the ASEAN Community in Global Political Economy)--------------------------------------------------------------------------
ในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้หลอมรวมกันจนเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาเซียนได้ดำเนินการสู่เป้าหมายในการสร้างอาเซียนที่แข็งแกร่งมากขึ้น เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น เป็นทั้งตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวกันมากขึ้น มีนโยบายด้านความมั่นคงที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกันในฐานะประชาคมอาเซียนมากขึ้น ถึงแม้ว่าประชาคมอาเซียนจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว แต่การเดินทางของอาเซียนยังไม่ได้สิ้นสุด ประเด็นสำคัญที่ควรตั้งคำถามถัดไปก็คือ หลังจากเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว อะไรคือจุดหมายใหม่ของประชาคมอาเซียน ประชาคมอาเซียนควรจะมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและบทบาทของตนเองในทิศทางใด อะไรคือความท้าทายหลักของประชาคมอาเซียน และสำคัญยิ่ง คือ การย้อนกลับมามองจุดยืนของประเทศไทยในประชาคมอาเซียนควรจะเป็นไปในทิศทางใด ในกรอบของประชาคมอาเซียนนั้นประเทศไทยจะมีบทบาทอย่างไรที่จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาให้ทั้งไทยและประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็งและมีพลวัตไปด้วยกัน ภายใต้บริบทของสภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและผันผวนของเศรษฐกิจการเมืองโลก
นอกจากเรื่องประชาคมอาเซียนแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญและหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ การเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเกิดจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม จนนำไปสู่การขยายตัวไปยังด้านต่าง ๆ ประกอบกับการที่โลกกำลังเดินเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะหลอมรวมเข้ากับชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง กลายเป็นยุคเศรษฐกิจสังคมดิจิทัล ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางสังคม และการบริหารราชการแผ่นดิน อาเซียนได้ออกกฎระเบียบ มาตรการ กรอบการทำงานที่สำคัญมากมายเพื่อยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ปัจจัยความสำเร็จสู่การเป็น “ดิจิทัลอาเซียน” ได้นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการบูรณาการเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านความร่วมมือของ ASEANและคู่เจรจาต่าง ๆ และอาศัยปัจจัยจากหลายภาคส่วน เช่น การกำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์ การวิจัยและพัฒนา และความรู้ความเข้าใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับ ที่สำคัญยิ่งสำหรับบุคลากรทุกภาคส่วน คือ เทคโนโลยีและโลกดิจิทัลมีความเป็นพลวัตสูงและมีแนวโน้มการแข่งขันที่รวดเร็ว รอบด้าน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ทั้งองค์กรภาครัฐและองค์กรธุรกิจ ที่ต่างต้องปรับตัว รับมือ มองหาวิธีการปรับปรุงการทำงาน การแก้ปัญหาและอุปสรรค และมองหานวัตกรรมที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานเดิมให้มีความเชื่อมโยง คล่องตัว และก้าวไปในทิศทางเดียวกันกับโลกปัจจุบัน
การแสวงหาความรู้และข้อมูลที่เป็นระบบและรอบด้านจากการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนและการเข้าสู่ยุคดิจิทัล จะเป็นประโยชน์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของประเทศไทยให้ก้าวสู่ความเป็นผู้นำในอาเซียน มีความรู้ความเข้าใจที่รอบด้านทั้งในบริบทของเศรษฐกิจการเมืองโลกและอาเซียน และสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศในบริบทโลกยุคปัจจุบันได้ สถาบันพระปกเกล้าในฐานะสถาบันทางวิชาการ จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ ในการพัฒนาและจัดให้มีการจัดการศึกษาอบรมหลักสูตร “ไทยกับประชาคมอาเซียนในเศรษฐกิจการเมืองโลก” เพื่อเป็นการศึกษาความรู้ กำหนดประเด็นความท้าทาย การวิเคราะห์จากนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงในภาควิชาการและภาคปฏิบัติ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดเห็น และการนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้กำหนดนโยบายและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้พร้อมสำหรับความท้าทายนี้ และยังเป็นการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ
รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาอบรมหลักสูตรไทยกับประชาคมอาเซียนในเศรษฐกิจการเมืองโลก รุ่นที่ 12-------------------------------------------------------------------
ประกาศรายชื่อและรายละเอียดเพิ่มเติม
ผู้ผ่านการคัดเลือกกรุณา1. ยืนยันการเข้ารายงานตัวผ่านช่องทาง คลิกที่นี่2. ชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มการชำระค่าลงทะเบียน และนำไปชำระที่ธนาคาร ตามที่กำหนด หรือชำระผ่าน Mobile Banking เมื่อชำระเรียบร้อยแล้ว กรุณานำส่งหลักฐานมายัง Email : TAG@kpi.ac.th หรือ Line ID : @435orwtl
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา (อาคารบี) เลขที่ 120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 5 (โซนทิศใต้) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210โทรศัพท์ : 02-141-9587, 02-141-9585โทรสาร : 02-143-8176E-mail : TAG@kpi.ac.thLine Official : https://lin.ee/pimaBOs