*ปัจจุบันข้อมูลส่วนบุคคลเป็นสิ่งสำคัญ สถาบันพระปกเกล้าตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลอย่างยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้ท่านได้รับความปลอดภัยสูงสุดจากการใช้บริการเว็บไซต์รับสมัครออนไลน์ของสถาบันพระปกเกล้า ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะถูกเก็บรักษาและป้องกันการนำข้อมูลส่วนบุคคล ของท่านไปใช้โดยมีเจตนาที่ไม่สุจริตอย่างเข้มงวด
*ทั้งนี้ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน สถาบันพระปกเกล้าจะนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของสถาบันพระปกเกล้าเท่านั้น
รายละเอียดหลักสูตร
ข้อมูลผู้สมัคร
ยืนยันลงทะเบียน
พิมพ์ใบสมัคร
การบริหารงานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน(Advanced Certificate Course in Local Development Administration for Sustainability)-----------------------------------------------
การบริหารงานพัฒนาของประเทศไทยในอดีตที่ผ่านมา เป็นการบริหารในลักษณะการรวมศูนย์อำนาจและการตัดสินใจไว้ที่ส่วนกลางมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้การนำนโยบายไปปฏิบัติเพื่อตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน ในพื้นที่เป็นไปในรูปแบบของการบริหารงานตามภารกิจและหน้าที่เป็นหลัก หน่วยราชการล้วนมุ่งแก้ไขปัญหาและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในส่วนกลางเพียง เท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ตามความเป็นจริง และละเลยเอกลักษณ์และศักยภาพเฉพาะพื้นที่ ตลอดจนขาดการบูรณาการในการดำเนินการต่างๆในแต่ละพื้นที่อย่างเป็นเอกภาพ อันส่งผลให้การแก้ปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ และไม่ได้ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนั้นกระบวนทัศน์การพัฒนาที่ผ่านมาอยู่ภายใต้อิทธิพลแนวคิดตะวันตก อย่างมากจนละเลยองค์ความรู้และ ภูมิปัญญาที่หลากหลาย โดยเฉพาะแนวคิดตะวันออกและของไทยเองนอกจากนั้นการประยุกต์แนวคิดตะวันตกที่ ผ่านมาละเลยฐานข้อมูลและข้อเท็จจริงของสังคมไทย ขาดการเรียนรู้และมีส่วนร่วม จนก่อให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดหรือความไม่ลงตัวระหว่าง 'สิ่งใหม่' กับ 'สภาพที่เป็นจริง' บางกรณีความขัดแย้งทางความคิดส่งผลให้เกิดความรุนแรง
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 ได้มีแนวนโยบายหลักในหลายประเด็นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาทิ มุ่งให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ความสำคัญในสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน รวมทั้งสิทธิชุมชนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันได้เกิดกระแสการปฏิรูประบบราชการโดยเน้นความสำคัญในเรื่อง ยุทธศาสตร์พื้นที่เป็นหลัก เน้นเรื่องผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการมากกว่ากระบวนการตามโครงการสร้างภารกิจ หน้าที่ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมา ได้ส่งผลให้การบริหารงานในระดับพื้นที่ (Area-based Management) เป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จในการบริหารงานพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน